นักข่าวตัวตึง มีแต่ให้ ไม่เคยรับเงินใคร !สันนักข่าว

THE STANDARD

SCB Perfect Storm
×

ECONOMIC / BUSINESS
ดีเดย์ มิ.ย. นี้ ผู้ใช้งาน Mobile Banking ต้องสแกนใบหน้ายืนยันตัวตน กรณีโอนเงินมากกว่า 50,000 บาทต่อรายการ
โดย ดำรงเกียรติ มาลา
09.03.2023

3.6K

แบงก์ชาติจัดหนัก! คลอดชุดมาตรการจัดการภัยไซเบอร์ทางการเงิน เตรียมกำหนดให้ผู้ใช้งาน Mobile Banking ต้องสแกนใบหน้ายืนยันตัวตนกรณีโอนเงินมากกว่า 50,000 บาทต่อรายการ เดือนมิถุนายนนี้ พร้อมสั่งทุกแบงก์งดส่งลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS และอีเมล ลดเสี่ยงแอปดูดเงิน

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันภัยทุจริตทางการเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและหลากหลายรูปแบบ เช่น SMS หลอกลวง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ แอปพลิเคชันให้สินเชื่อปลอม และแอปพลิเคชันดูดเงิน ภัยหลอกลวงเหล่านี้ส่งผลกระทบให้ประชาชนต้องสูญเสียทรัพย์สินหรือรายได้ที่เก็บออม รวมทั้งขาดความมั่นใจในการใช้บริการทางการเงินดิจิทัลของสถาบันการเงิน ซึ่งอาจส่งผลกระทบในวงกว้างต่อการทำธุรกรรมทางการเงินในระยะต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ธนาคารออมสิน เปิดตัวเงินฝากดอกเบี้ยขั้นบันได จ่ายสูงสุด 4.5% และ 10% หวังส่งเสริมการออมระยะยาว
ส่องแบงก์รัฐ-พาณิชย์ ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ เท่าไรกันบ้าง? หลัง กนง. ประชุมนัดแรกของปี 2566
คลอดแล้ว! เกณฑ์ ‘Virtual Bank’ ธปท. จำกัดไลเซนส์แค่ 3 ราย เผยมีผู้สนใจแล้ว 10 ราย เล็งประกาศผลกลางปีหน้าก่อนเริ่มให้บริการจริงปี 68
ทั้งนี้ จากการจัดเก็บสถิติของ ธปท. พบว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมาจำนวนภัยทุจริตทางการเงินผ่าน Mobile Banking ได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2564 ถึง 79% จาก 1,257 รายการ เป็น 6,114 รายการ สอดคล้องกับมูลค่าความเสียหายที่เพิ่มสูงขึ้น 72% จาก 75 ล้านบาท เป็น 274.39 ล้านบาท

ขณะที่ข้อมูลจากสมาคมธนาคารไทย ระบุว่า การหลอกลวงของมิจฉาชีพด้วยการใช้แอปดูดเงินได้สร้างความเสียหายมากกว่า 500 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทั้งหมดเกือบ 100% เป็นสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบแอนดรอยด์

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งจัดเก็บระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 31 ธันวาคม 2565 ที่พบว่ามีการแจ้งความเกี่ยวกับการถูกหลอกซื้อสินค้าออนไลน์ 5 หมื่นครั้ง ถูกหลอกให้โอนเงิน 2 หมื่นครั้ง ถูกหลอกให้กู้เงิน 1.8 หมื่นครั้ง ตกเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 1.3 หมื่นครั้ง คิดเป็นความเสียหาย 2.6 พันล้านบาท และมีการขออายัดบัญชีม้าจำนวน 5.8 หมื่นบัญชี คิดเป็นมูลค่า 5.5 พันล้านบาท

ด้วยความตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนดังกล่าวและไม่ได้นิ่งนอนใจ ที่ผ่านมา ธปท. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกภาคการเงินดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง บนหลักการป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองรับมือ เพื่อลดช่องทางของมิจฉาชีพ และช่วยแก้ไขปัญหาให้ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อภัยการเงิน รวมทั้งกำชับให้สถาบันการเงินต้องเร่งจัดการปัญหาให้ประชาชนโดยเร็ว ซึ่งหลายเรื่องดำเนินการแล้ว เช่น ร่วมกับสำนักงาน กสทช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร (TB-CERT) ปิด SMS ที่แอบอ้างชื่อเป็นสถาบันการเงิน เพื่อป้องกันมิจฉาชีพใช้แอบอ้างติดต่อประชาชน ซึ่งทำให้ภัยหลอกลวงทาง SMS เหล่านี้ลดลง

อย่างไรก็ดี การจัดการและแก้ปัญหาภัยการเงินในปัจจุบันยังมีจุดที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม โดยเฉพาะการเข้าถึงประชาชนของมิจฉาชีพที่ทำได้หลายช่องทางและหลายรูปแบบ กระบวนการอายัดบัญชีผิดปกติของสถาบันการเงินที่ยังใช้เวลานาน การซื้อขายบัญชีม้าที่ยังมีอยู่มาก ตลอดจนการแก้ไขปัญหาให้ผู้เสียหาย ในครั้งนี้ ธปท. จึงได้ออกแนวนโยบายเป็นชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินที่ดูแลตลอดเส้นทางการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้สถาบันการเงินทุกแห่งปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกัน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

มาตรการป้องกันเพื่อปิดช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น เช่น

กำหนดให้สถาบันการเงินงดการส่งลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS และอีเมล งดส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน และเลขบัตรประชาชนผ่านโซเชียลมีเดีย

จำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน Mobile Banking (Username) ของแต่ละสถาบันการเงินให้ใช้ได้ใน 1 อุปกรณ์เท่านั้น โดยสถาบันการเงินต้องจัดให้มีการแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ Mobile Banking ก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง

พัฒนาระบบความปลอดภัยบน Mobile Banking ให้เท่าทันภัยการเงินรูปแบบใหม่อยู่ตลอดเวลา

ต้องยกระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตนขั้นต่ำด้วยการใช้เทคโนโลยีเปรียบเทียบข้อมูลอัตลักษณ์ทางกายภาพของลูกค้า (Biometrics) เช่น สแกนใบหน้า ในกรณีลูกค้าขอเปิดบัญชีโดยผ่านแอปพลิเคชันของสถาบันการเงิน (Non-Face-to-Face) หรือทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น โอนเงินมากกว่า 50,000 บาทต่อรายการ โอนเงินมากกว่า 200,000 บาทต่อวัน หรือปรับเพิ่มวงเงินทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป

“การยืนยันตัวตนด้วยข้อมูล Biometrics ในกรณีที่ลูกค้าขอเปิดบัญชีทุกสถาบันการเงินได้ดำเนินการไปแล้ว ส่วนกรณีการโอนเงินมากกว่า 50,000 บาท หรือขอปรับเพิ่มวงเงินธุรกรรมก็ได้เริ่มไปแล้วบางส่วนและคาดว่าแล้วเสร็จครบทุกสถาบันการเงินในเดือนมิถุนายนนี้ ส่วนกรณีที่กำหนดวงเงินไว้ที่ 50,000 บาท เนื่องจากมองว่าตัวเลขดังกล่าวมีความเหมาะสม เพราะปริมาณธุรกรรมต่อวันของไทยในปัจจุบันมีเพียง 1% ที่มีมูลค่าสูงกว่า 50,000 บาท” ผู้ว่า ธปท. ระบุ

กำหนดเพดานวงเงินถอนและโอนสูงสุดต่อวันให้เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงของกลุ่มผู้ใช้บริการแต่ละประเภท โดยลูกค้าสามารถขอปรับได้ตามความจำเป็นและต้องยืนยันตัวตนอย่างเข้มงวด

มาตรการตรวจจับและติดตามบัญชีหรือธุรกรรมต้องสงสัย เพื่อให้สถาบันการเงินช่วยจำกัดความเสียหายได้เร็วขึ้น และลดการใช้บัญชีม้า ธปท. จะกำหนดเงื่อนไขการตรวจจับและติดตามธุรกรรมเข้าข่ายผิดปกติ หรือกระทำความผิด เพื่อให้สถาบันการเงินรายงานไปสำนักงาน ปปง. รวมทั้งให้สถาบันการเงินต้องมีระบบตรวจจับและติดตามบัญชีหรือธุรกรรมต้องสงสัยแบบ Near Realtime เพื่อให้สามารถระงับธุรกรรมได้ทันทีเป็นการชั่วคราวเมื่อตรวจพบ

มาตรการตอบสนองและรับมือ เพื่อจัดการปัญหาให้ผู้เสียหายได้เร็วขึ้น ให้สถาบันการเงินทุกแห่งต้องมีช่องทางติดต่อเร่งด่วน (Hotline) ตลอด 24 ชั่วโมง แยกจากช่องทางให้บริการปกติ เพื่อให้ผู้ใช้บริการแจ้งเหตุได้โดยเร็ว รวมทั้งให้ดูแลรับผิดชอบผู้ใช้บริการ หากพบว่าความเสียหายเกิดจากข้อบกพร่องของสถาบันการเงิน

ทั้งนี้ ธปท. ได้เร่งให้สถาบันการเงินทุกแห่งต้องดำเนินมาตรการทั้งหมดโดยเร็ว โดยได้มีการเริ่มดำเนินการในบางมาตรการแล้ว ขณะที่มาตรการที่เหลือส่วนใหญ่จะกำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2566 และจะเร่งดำเนินการสำหรับบางมาตรการที่มีความซับซ้อนและต้องใช้เวลาในการปรับปรุง ซึ่งจะดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดต่อไป โดย ธปท. จะประเมินประสิทธิผลของการดำเนินการ และจะทบทวนปรับปรุงมาตรการเป็นระยะ เพื่อให้สามารถป้องกันและแก้ไขภัยทุจริตทางการเงินได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์

อย่างไรก็ดี การดำเนินงานของ ธปท. เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่การจัดการและแก้ไขภัยทางการเงินได้อย่างเบ็ดเสร็จขึ้น ต้องอาศัย พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งเมื่อมีผลบังคับใช้จะช่วยแก้ไขข้อจำกัดและอุปสรรคได้เพิ่มเติม ทั้งด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมต้องสงสัยระหว่าง สง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้คล่องตัวขึ้น การระงับการทำธุรกรรมโดยสถาบันการเงินได้ทันที และการกำหนดบทลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับบัญชีม้าที่ชัดเจนขึ้น รวมทั้งยังต้องบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป

“3 สิ่งที่ ธปท. อยากเห็นจากการออกมาตรการในครั้งนี้คือการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการภัยไซเบอร์ของสถาบันการเงิน การลดโอกาสที่ประชาชนจะถูกหลอกลวงและการสร้างความมั่นใจให้ประชาชนในการใช้บริการการเงินดิจิทัล” ผู้ว่า ธปท. กล่าว

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารมีความพร้อมที่จะดำเนินการตามมาตรการของ ธปท. โดยปัจจุบันธนาคารมีฐานข้อมูล Biometrics ของลูกค้าเงินฝากอยู่แล้ว 70-80% และยังใช้เทคโนโลยีการยืนยันตัวตนด้วย Biometrics กับลูกค้า Mobile Banking อยู่แล้ว เช่น การเข้าแอป ในขั้นต่อไปจึงเป็นการอัปเกรดขั้นตอนดังกล่าวเข้าไปในฟีเจอร์อื่นๆ เท่านั้น นอกจากนี้ธนาคารยังมีแผนจะใช้เม็ดเงินราว 10% ของรายได้เป็นงบลงทุนเพื่ออัปเกรดระบบไอทีในภาพรวม

ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า การออกมาตรการในครั้งนี้ของ ธปท. ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยทางการเงินให้กับประชาชน โดยเชื่อว่าธนาคารกรุงเทพจะสามารถปรับปรุงระบบให้สอดคล้องกับเกณฑ์ของ ธปท. ได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนด้วย Biometrics เป็นส่วนหนึ่งของการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของธนาคารอยู่แล้ว แต่อาจต้องเพิ่มจำนวนคนที่จะเข้ามาดูแลด้านนี้เท่านั้น
สามารถติดตาม THE STANDARD WEALTH
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้งานอยู่แล้วได้เลย

Facebook Twitter Instagram Line OA Blockdit Youtube TikTok
TAGS: ธนาคารความปลอดภัยทางไซเบอร์ขัตติยา อินทรวิชัยธุรกรรมทางการเงินเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิระบบยืนยันตัวตนชาติศิริ โสภณพนิชธุรกรรมออนไลน์ธนาคารแห่งประเทศไทยแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงMobile Banking

3.6K

ABOUT THE AUTHOR

ดำรงเกียรติ มาลา
Content Creator THE STANDARD WEALTH
READ MORE
THE STANDARD Life Instagram

RELATED STORIES

ECONOMIC / BUSINESS
คลังเผยยอดยืนยันตัวตนบัตรคนจนพุ่งแตะ 5.7 ล้านราย รออุทธรณ์อีก 8.6 แสนราย เตรียมเปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิค่าน้ำ-ค่าไฟ 15 มี.ค. นี้
31
แบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐ
BUSINESS / ECONOMIC
แบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐ พร้อมอัปเกรดระบบความปลอดภัยตามเกณฑ์ใหม่แบงก์ชาติ เล็งตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมต้องสงสัยและบัญชีม้า
44

BUSINESS / NEWS / BUSINESS / VIDEO
ชมคลิป: แบงก์ชาติเข้ม! โอนเงินผ่านแอป ต้องยืนยันตัวตน ดีเดย์ มิ.ย. นี้
28

BUSINESS / TECH
คนอเมริกัน (เริ่ม) ไม่อยากใช้ Instagram แล้ว หลังมีการค้นหาวิธีลบมากที่สุด ตามมาติดๆ ด้วย Facebook
427

ECONOMIC / BUSINESS
สรุปมาตรการจัดการ ‘ภัยไซเบอร์’ ของแบงก์ชาติ
147
MORE
MOST POPULAR
TODAYWEEKMONTH

THAILAND
เปิดงานวิจัย ทำไมผู้หญิงเลือกเป็น ‘เมียน้อย’ แลกมากับอะไร และต้องเจออะไรบ้าง
4.3K

SCIENCE
นักวิทยาศาสตร์​ปลุกไวรัส ‘ซอมบี้’ ที่นอนนิ่ง​อยู่ใน​ชั้นดินเยือกแข็งนานถึง 48,500 ปี ให้ตื่นขึ้น​มาอีก​ครั้ง​
1.2K

POP
Prada Group เผยรายได้ปี 2022 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำไป 1.56 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 21% จากปี 2021
1.2K

BUSINESS
คนอเมริกัน (เริ่ม) ไม่อยากใช้ Instagram แล้ว หลังมีการค้นหาวิธีลบมากที่สุด ตามมาติดๆ ด้วย Facebook
427

POP
GDH เปิดตัว บ้านเช่า..บูชายัญ หนังสยองขวัญเรื่องล่าสุด นำแสดงโดย เวียร์ ศุกลวัฒน์ และ มิว นิษฐา
352
EDITOR’S PICKS

THE POWER GAME
อุ๊งอิ๊ง-เศรษฐา ใครคือตัวจริง?
179

THE SECRET SAUCE
The Invisible Leader ผู้นำล่องหน หนังสือใหม่ เคน นครินทร์
512

POLITICS
ส.ส. 400 เขต จุดยุทธศาสตร์การเมือง ใครจะได้เก้าอี้สภามากที่สุด
459

WORLD
สรุปเหตุการณ์ บุญชู แรงงานไทยเสียชีวิตในฟาร์มหมูเกาหลีใต้ นายจ้างกลัวความผิด ขนศพทิ้งเนินเขา
577
MH370
WORLD
ครบรอบ 9 ปี เที่ยวบิน MH370 สูญหาย กับปริศนาที่ยังคงไร้คำตอบ
2.0K
LATEST STORIES
เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
POLITICS
เสรีพิศุทธ์ลงพื้นที่แนะนำผู้สมัคร ส.ส. เขตบางกอกน้อย มั่นใจใน กทม. ต้องได้ 5 เขต ยินดีเพื่อไทยแลนด์สไลด์

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
POLITICS
ประยุทธ์ เปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ฉะเชิงเทรา​ ขอโอกาสทำหน้าที่เพื่อประชาชนให้ดีที่สุด

เอฟวัน เทพไชยา
SPORT
‘เอฟวัน เทพไชยา’ ทะลุเข้าชิงช

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ข่าวกำแพงเพชร
095-342-168